Monday 25 March 2019

ใบความรู้ที่ 22 宣纸与镇纸 กระดาษเซวียนจื่อกับที่ทับกระดาษ

ใบความรู้ที่ 22

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

กระดาษเซวียนจื่อกับที่ทับกระดาษ

สิ่งประดิษฐ์ทั้งสี่ในสมัยโบราณของจีน ได้แก่ เทคนิคการทำากระดาษ เข็มทิศ ดินปืนและเทคนิคการพิมพ์ด้วยตัวเรียงพิมพ์แบบเคลื่อนที่ได้ เคยมีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกใบนี้ ตราบจนปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์ทั้งสามสิ่งได้ปรากฏแก่ผู้คนในรูปโฉมอื่นๆ มีแต่เพียงกระดาษเท่านั้นที่ยังคงกระโดดโลดเต้นอยู่ในชีวิตประจำาวันของคนเรา ทั้งยังได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นรูปแบบนับพันอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือกระดาษเซวียนจื่อซึ่งได้แบกรับข้อมูลเบื้องลึกอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวัฒนธรรมจีนเอาไว้ แม้จะผ่านช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานก็ยิ่งเปี่ยมไปด้วยความมีชีวิตชีวา คงความงามสง่าในตัวมันเอง
กระดาษเซวียนจื่อ
ตัวอักษร “จื่อ” (纸) ประกอบด้วยตัวอักษร “ซือ” (糸) กับ “ซื่อ” (氏) ตัวอักษร “ซื่อ”     (氏) หมายถึง “รากฐาน” “ระนาบพื้นฐาน” ส่วนตัวอักษร “ซือ” (糸) หมายถึง “เส้นใยของพืช” เมื่อตัวอักษรทั้ง 2 ส่วนมารวมกันจึงเกิดความหมายว่า “เส้นใยของพืช (ในรูปของเหลวข้น) วางแผ่กระจายออกทั่วๆ กันบนแผ่นกระดานไม้แผ่นหนึ่ง” และนี่ก็คือการสรุปความอย่างเป็นภาพลักษณ์ที่กระชับและชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตกระดาษในสมัยโบราณ
ในสมัยฮั่นตะวันออก ไช่ หลุน (ค.ศ. 92) ระหว่างที่ทำาการศึกษาค้นคว้าอยู่ในชนบทได้ค้นพบว่าหากนำาเส้นใยพืชไปผ่านกรรมวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตะไบ ต้ม แช่ ตี ลวก ฯลฯ จะสามารถผลิตเป็นกระดาษได้ และในปี ค.ศ.105 ก็ได้นำาความขึ้นกราบทูลฮ่องเต้ ทำาให้กรรมวิธีการผลิตกระดาษนี้แพร่หลายไปทั่ว ผู้คนต่างพากันเรียกว่า “กระดาษขุนนางแซ่ไช่”
จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง  กระดาษที่ผลิตในอำเภอจิงเสี้ยน มณฑลอันฮุย รวมถึงฮุยโจว ฉือโจว เซวียนเฉิงที่อยู่ใกล้ๆ มีความประณีตสวยงามอีกเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ชื่อเรียกว่า “กระดาษเซวียนจื่อ” กระดาษชนิดนี้ผลิตจากฟางข้าวในที่นาราบลุ่มน้ำท่วมถึงและเปลือกต้นจันทน์ของอำาเภอจิงเสี้ยน มณฑลอันฮุย และเขตพื้นที่บริเวณโดยรอบ ใช้น้ำแร่ธรรมชาติที่มีเฉพาะอำาเภอจิงเสี้ยนและเทคนิคศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ผลิตขึ้นมาด้วยความ
ละเอียดประณีต
กระดาษเซวียนจื่อที่ผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตงานฝีมือกว่า 200 ขั้นตอนออกมา มีเนื้อกระดาษขาวละเอียด ลายเส้นใยชัดเจน เนื้อนุ่มเหนียวแต่ทนทาน แม้ถูกพับร้อยครั้งก็ไม่เสียหาย มีชื่อเสียงในแง่ที่ “เบาราวกับปีกจักจั่น ขาวดุจหิมะ ไหวสั่นราวกับไหมเนื้อละเอียดไร้ซุ่มเสียง” ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ กระดาษชนิดนี้เงาแวววาวแต่ไม่ลื่น ดูดซับน้ำและหมึกดี เหมาะแก่การเขียนพู่กันจีนและวาดภาพ ไม่เน่าเปื่อยหรือถูกมอดกัดกินชอนไช ไม่กรอบแม้เก็บไว้นาน เก็บรักษาง่าย ได้รับการขนานนามว่า “กระดาษอายุยืนพันปี” และ “ราชาแห่งกระดาษทั้งปวง”
การที่ปัญญาชนผู้มีความรู้ชาวจีนโปรดปรานการใช้กระดาษเซวียนจื่อเป็นพิเศษ ก็เนื่องมาจากความลงตัวอันสมบูรณ์แบบระหว่างกระดาษชนิดนี้กับคุณลักษณะของพู่กันและนำน้ำหมึก ซึ่งต่างมีส่วนร่วมในการทำาให้ท่วงทำานองเชิงศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการเขียนศิลปะพู่กันจีนและภาพวาดจีนปรากฏออกมา นักเขียนศิลปะพู่กันจีนและจิตรกรผู้ภาพวาดจีนใช้ประโยชน์จากความชุ่มชื้นเป็นมันของนำน้ำหมึกบนกระดาษเซวียนจื่อ และอาศัยการควบคุมอัตราส่วนของปริมาณนำน้ำและหมึก รวมทั้งความหนักเบาเร็วช้าของการเคลื่อน
ปลายพู่กัน ทำาให้สามารถรังสรรค์ผลงานทางศิลปะจนสำาเร็จในคราเดียว ครบทั้งในแง่ความตื้นลึกหนาบาง ลายเส้นที่เห็นได้ชัดเจน จังหวะนำน้ำหนักหมึกอันชัดแจ้ง ลำาดับขั้นก่อนหลังอันเด่นชัด ซึ่งสิ่งนี้เรียกกันว่า “คุณลักษณะทั้งห้าประการของสีน้ำหมึก” 
中国古代的四项发明:造纸术、指南针、火药和活字印刷术,曾经对世界产生了重大影响。时至今日,另三项发明多以其他面目示人,只有纸,仍然活跃在人们的日常生活中,并演变成上千种形态。其中,承载着独特的中华文化底蕴的宣纸,更是历久弥新,风采依然。
 宣纸
纸,从“糸”,从“氏”。“氏”,义为“基底”、“基本面”。“糸”,指“植物纤维”。这两个部分联合起来的意思是:“植物纤维(浆液)均匀地铺摊在一块平底板上”。这正是对古时造纸基本步骤简明、形象的概括。
东汉时期,蔡伦(公元92元)于 乡 间 考 察 之 际 , 发 现 通 过 锉 、煮、浸、捣、抄等法,可由植物纤维造纸,并在公元105年上报皇帝,使得这种方法广泛流传,人称“蔡侯纸”。
到了唐代,安徽泾县及其附近的徽州、池州、宣城生产的纸都非常精美,被称为“宣纸”,这种纸利用产自安徽泾县及周边地区的沙田稻草和青檀皮,用泾县特有的山泉水以及独特的制造工艺精制而成。经过200多道手工工序制作出来的宣纸,质地纯白细密、纹理清晰、绵韧而坚、百折不损,有“轻似蝉翼白如雪,抖似细绸不闻声”的美誉;更重要的是,它光而不滑、吸水润墨、宜书宜画、不腐不蠹、经久不脆、易于保存,有“纸寿千年”和“纸中之王”之称。
中国文人之所以格外青睐宣纸,是因为其与毛笔、墨的性质完美结合,共同展现出中国书画独特的艺术风格。书画家利用宣纸的润墨性,通过控制水和墨的比例,以及运笔的轻重快慢,可以达到一笔落成、深浅浓淡、纹理可见、墨韵清晰、层次分明的艺术效果,这叫做“墨分五色”。
镇纸是一种典型的书房文玩,最初它的作用是在写字、作画时压住纸张,防止其卷翘,方便创作,有关镇纸最早的文献记载是在南北朝时期。
目前可见的镇纸,宋以前的传世品很少,但文献记载颇多,如唐杜光庭《录异记·异石》:“会稽进士李眺,偶拾得小石,青黑平正,温滑可玩,用为书镇”。通过这些文献资料,我们可以了解:古代镇纸大多采用兔、马、羊、鹿、蟾蜍等动物的立体造型,面积小而分量重,多为青铜器或玉器。
明清两代,书画名家辈出,极大地促进了文房用具的制作和使用,镇纸的制作材料和造型也有了新的变化,材料除了继续使用铜、玉之外,还增加了石材、紫檀木、乌木等等;而在造型上,也突破了以往的立体动物造型,开始出现长条形的镇纸,且多成对出现,这与当时对联的兴起有一定的关系。这种新造型适宜书写与篆刻,后又增加了许多文人喜爱的形象,如诗词篆刻和梅兰竹菊等,实用
性与艺术性兼重,深得文人雅士和收藏家的青睐。

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/

หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

No comments:

Post a Comment