Monday 25 March 2019

ใบความรู้ที่ 22 宣纸与镇纸 กระดาษเซวียนจื่อกับที่ทับกระดาษ

ใบความรู้ที่ 22

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

กระดาษเซวียนจื่อกับที่ทับกระดาษ

สิ่งประดิษฐ์ทั้งสี่ในสมัยโบราณของจีน ได้แก่ เทคนิคการทำากระดาษ เข็มทิศ ดินปืนและเทคนิคการพิมพ์ด้วยตัวเรียงพิมพ์แบบเคลื่อนที่ได้ เคยมีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกใบนี้ ตราบจนปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์ทั้งสามสิ่งได้ปรากฏแก่ผู้คนในรูปโฉมอื่นๆ มีแต่เพียงกระดาษเท่านั้นที่ยังคงกระโดดโลดเต้นอยู่ในชีวิตประจำาวันของคนเรา ทั้งยังได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นรูปแบบนับพันอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือกระดาษเซวียนจื่อซึ่งได้แบกรับข้อมูลเบื้องลึกอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของวัฒนธรรมจีนเอาไว้ แม้จะผ่านช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานก็ยิ่งเปี่ยมไปด้วยความมีชีวิตชีวา คงความงามสง่าในตัวมันเอง
กระดาษเซวียนจื่อ
ตัวอักษร “จื่อ” (纸) ประกอบด้วยตัวอักษร “ซือ” (糸) กับ “ซื่อ” (氏) ตัวอักษร “ซื่อ”     (氏) หมายถึง “รากฐาน” “ระนาบพื้นฐาน” ส่วนตัวอักษร “ซือ” (糸) หมายถึง “เส้นใยของพืช” เมื่อตัวอักษรทั้ง 2 ส่วนมารวมกันจึงเกิดความหมายว่า “เส้นใยของพืช (ในรูปของเหลวข้น) วางแผ่กระจายออกทั่วๆ กันบนแผ่นกระดานไม้แผ่นหนึ่ง” และนี่ก็คือการสรุปความอย่างเป็นภาพลักษณ์ที่กระชับและชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตกระดาษในสมัยโบราณ
ในสมัยฮั่นตะวันออก ไช่ หลุน (ค.ศ. 92) ระหว่างที่ทำาการศึกษาค้นคว้าอยู่ในชนบทได้ค้นพบว่าหากนำาเส้นใยพืชไปผ่านกรรมวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตะไบ ต้ม แช่ ตี ลวก ฯลฯ จะสามารถผลิตเป็นกระดาษได้ และในปี ค.ศ.105 ก็ได้นำาความขึ้นกราบทูลฮ่องเต้ ทำาให้กรรมวิธีการผลิตกระดาษนี้แพร่หลายไปทั่ว ผู้คนต่างพากันเรียกว่า “กระดาษขุนนางแซ่ไช่”
จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง  กระดาษที่ผลิตในอำเภอจิงเสี้ยน มณฑลอันฮุย รวมถึงฮุยโจว ฉือโจว เซวียนเฉิงที่อยู่ใกล้ๆ มีความประณีตสวยงามอีกเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ชื่อเรียกว่า “กระดาษเซวียนจื่อ” กระดาษชนิดนี้ผลิตจากฟางข้าวในที่นาราบลุ่มน้ำท่วมถึงและเปลือกต้นจันทน์ของอำาเภอจิงเสี้ยน มณฑลอันฮุย และเขตพื้นที่บริเวณโดยรอบ ใช้น้ำแร่ธรรมชาติที่มีเฉพาะอำาเภอจิงเสี้ยนและเทคนิคศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ผลิตขึ้นมาด้วยความ
ละเอียดประณีต
กระดาษเซวียนจื่อที่ผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตงานฝีมือกว่า 200 ขั้นตอนออกมา มีเนื้อกระดาษขาวละเอียด ลายเส้นใยชัดเจน เนื้อนุ่มเหนียวแต่ทนทาน แม้ถูกพับร้อยครั้งก็ไม่เสียหาย มีชื่อเสียงในแง่ที่ “เบาราวกับปีกจักจั่น ขาวดุจหิมะ ไหวสั่นราวกับไหมเนื้อละเอียดไร้ซุ่มเสียง” ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ กระดาษชนิดนี้เงาแวววาวแต่ไม่ลื่น ดูดซับน้ำและหมึกดี เหมาะแก่การเขียนพู่กันจีนและวาดภาพ ไม่เน่าเปื่อยหรือถูกมอดกัดกินชอนไช ไม่กรอบแม้เก็บไว้นาน เก็บรักษาง่าย ได้รับการขนานนามว่า “กระดาษอายุยืนพันปี” และ “ราชาแห่งกระดาษทั้งปวง”
การที่ปัญญาชนผู้มีความรู้ชาวจีนโปรดปรานการใช้กระดาษเซวียนจื่อเป็นพิเศษ ก็เนื่องมาจากความลงตัวอันสมบูรณ์แบบระหว่างกระดาษชนิดนี้กับคุณลักษณะของพู่กันและนำน้ำหมึก ซึ่งต่างมีส่วนร่วมในการทำาให้ท่วงทำานองเชิงศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการเขียนศิลปะพู่กันจีนและภาพวาดจีนปรากฏออกมา นักเขียนศิลปะพู่กันจีนและจิตรกรผู้ภาพวาดจีนใช้ประโยชน์จากความชุ่มชื้นเป็นมันของนำน้ำหมึกบนกระดาษเซวียนจื่อ และอาศัยการควบคุมอัตราส่วนของปริมาณนำน้ำและหมึก รวมทั้งความหนักเบาเร็วช้าของการเคลื่อน
ปลายพู่กัน ทำาให้สามารถรังสรรค์ผลงานทางศิลปะจนสำาเร็จในคราเดียว ครบทั้งในแง่ความตื้นลึกหนาบาง ลายเส้นที่เห็นได้ชัดเจน จังหวะนำน้ำหนักหมึกอันชัดแจ้ง ลำาดับขั้นก่อนหลังอันเด่นชัด ซึ่งสิ่งนี้เรียกกันว่า “คุณลักษณะทั้งห้าประการของสีน้ำหมึก” 
中国古代的四项发明:造纸术、指南针、火药和活字印刷术,曾经对世界产生了重大影响。时至今日,另三项发明多以其他面目示人,只有纸,仍然活跃在人们的日常生活中,并演变成上千种形态。其中,承载着独特的中华文化底蕴的宣纸,更是历久弥新,风采依然。
 宣纸
纸,从“糸”,从“氏”。“氏”,义为“基底”、“基本面”。“糸”,指“植物纤维”。这两个部分联合起来的意思是:“植物纤维(浆液)均匀地铺摊在一块平底板上”。这正是对古时造纸基本步骤简明、形象的概括。
东汉时期,蔡伦(公元92元)于 乡 间 考 察 之 际 , 发 现 通 过 锉 、煮、浸、捣、抄等法,可由植物纤维造纸,并在公元105年上报皇帝,使得这种方法广泛流传,人称“蔡侯纸”。
到了唐代,安徽泾县及其附近的徽州、池州、宣城生产的纸都非常精美,被称为“宣纸”,这种纸利用产自安徽泾县及周边地区的沙田稻草和青檀皮,用泾县特有的山泉水以及独特的制造工艺精制而成。经过200多道手工工序制作出来的宣纸,质地纯白细密、纹理清晰、绵韧而坚、百折不损,有“轻似蝉翼白如雪,抖似细绸不闻声”的美誉;更重要的是,它光而不滑、吸水润墨、宜书宜画、不腐不蠹、经久不脆、易于保存,有“纸寿千年”和“纸中之王”之称。
中国文人之所以格外青睐宣纸,是因为其与毛笔、墨的性质完美结合,共同展现出中国书画独特的艺术风格。书画家利用宣纸的润墨性,通过控制水和墨的比例,以及运笔的轻重快慢,可以达到一笔落成、深浅浓淡、纹理可见、墨韵清晰、层次分明的艺术效果,这叫做“墨分五色”。
镇纸是一种典型的书房文玩,最初它的作用是在写字、作画时压住纸张,防止其卷翘,方便创作,有关镇纸最早的文献记载是在南北朝时期。
目前可见的镇纸,宋以前的传世品很少,但文献记载颇多,如唐杜光庭《录异记·异石》:“会稽进士李眺,偶拾得小石,青黑平正,温滑可玩,用为书镇”。通过这些文献资料,我们可以了解:古代镇纸大多采用兔、马、羊、鹿、蟾蜍等动物的立体造型,面积小而分量重,多为青铜器或玉器。
明清两代,书画名家辈出,极大地促进了文房用具的制作和使用,镇纸的制作材料和造型也有了新的变化,材料除了继续使用铜、玉之外,还增加了石材、紫檀木、乌木等等;而在造型上,也突破了以往的立体动物造型,开始出现长条形的镇纸,且多成对出现,这与当时对联的兴起有一定的关系。这种新造型适宜书写与篆刻,后又增加了许多文人喜爱的形象,如诗词篆刻和梅兰竹菊等,实用
性与艺术性兼重,深得文人雅士和收藏家的青睐。

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/

หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

ใบความรู้ที่ 21 จางเชียน (张骞) - ผู้บุกเบิกเส้นทางสายไหม


ใบความรู้ที่ 21

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

จางเชียน (张骞) - ผู้บุกเบิกเส้นทางสายไหม

ย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนซึ่งห่างจากปัจจุบันกว่า 2000 ปี จางเชียนในฐานะทูตจีนเคยเดินทางไปเขตซียู่ว์สองครั้ง ผลการเดินทางสองครั้งดังกล่าวได้นำมาซึ่งการเปิด "เส้นทางสายไหม" ที่เชื่อมจีนกับประเทศอื่นๆ ในโลกตะวันตก ซึ่งมีผลกระทบที่ลึกซึ่งและยาวไกลต่อประวัติศาสตร์ของประเทศจีนและประวัติศาสตร์ของโลก
อนุสาวรีย์ จางเชียน
จางเชียนเกิดในมณฑลส่านซี เป็นคนซื่อสัตย์และไว้ใจได้ และเป็นคนที่มีจิตใจชอบการผจญภัย งานการทูตครั้งนี้นับว่าเป็นงานที่มีความยากลำบาก เพราะว่าต้องผ่านเขตของเผ่าชนซงหนูที่เป็นอริกับจีนและดินแดนทุรกันดารต่างๆ ที่มีลักษณะภูมิประเทศอันเลวร้าย ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไปจะสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อ 139 ปีก่อนคริสต์ศักราช จางเชียนได้นำคณะทูตราชวงศ์ฮั่นที่ประกอบด้วยร้อยกว่าคนออกเดินทางไปยังเขตซียู่ว์ที่อยู่ตะวันตก แต่เขากับคณะออกเดินทางได้ไม่นานขณะที่ผ่านพื้นที่ของเผ่าชนซงหนูนั้นก็ถูกซงหนูจับได้ หัวหน้าเผ่าซงหนู่พอทราบวัตถุประสงค์ของการเดินทางไปยังเขตตะวันตกในครั้งนี้แล้ว จึงสั่งให้กักตัวจางเชียนพร้อมกับคณะและส่งตัวไปใช้แรงงานเป็นกุลี นอกจากนี้ยังจัดการหาภรรยาให้จางเชียนเพื่อที่จะให้จางเชียนเลิกล้มความตั้งใจเสีย แต่ว่าจางเชียนไม่เคยลืมภาระหน้าที่ของตนและไม่เคยละทิ้งความพยายาม หลังจากที่ถูกซงหนูกักตัวเป็นเวลานานถึง 11 ปี จนฝ่ายซงหนูคลายความระวังเข้มงวด จางเชียนเห็นได้จังหวะ ก็นำสมาชิกในคณะหลบหนี พวกเขาเดินทางผ่านเขตของสาธารณรัฐอุซเบกิสถานในปัจจุบันไปจนถึงเขตของประเทศเผ่าชนต้าเย่ว์จือในที่สุด แต่ว่าต่าเย่ว์จือในขณะนั้นไม่มีความคิดที่จะไปตีซงหนูอีกแล้ว เมื่อเห็นสภาพเช่นนั้น จางเชียนก็จำต้องกลับประเทศ ระหว่างทางขากลับ เขากับคณะก็ถูกซงหนูจับกุมอีกและถูกกักตัวอยู่เป็นเวลาปีเศษ
ในที่สุดเมื่อปี 126 ก่อนคริสต์ศักราช จางเชียนก็สามารถหลบหนีออกจากประเทศซงหนูกลับถึงจีน การเป็นทูตครั้งนี้ใช้เวลาไป 13 ปี สมาชิกในคณะทูตทั้งหมดกว่าร้อยคนเหลือแต่จางเชียนเพียงคนเดียว นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง เมื่อกลับถึงประเทศแล้ว จางเชียนได้ทูลเกล้ากษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้เกี่ยวกับประสบการณ์และเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็นตลอดช่วงเวลา 13 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สภาพของประเทศต่างๆ ในเอเชียกลางทั้งด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านภูมิประเทศ การเมืองและเศรษฐกิจ เป็นต้น ทำให้ราชวงศ์ฮั่นเข้าใจเรื่องราวของประเทศอื่นๆ มากขึ้น ต่อจากนั้นไม่ถึงสิบปี จางเชียนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตไปเขตซียู่ว์อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ เขาได้นำสิ่งของมีค่า ผ้าแพร วัวและแพะแกะจำนวนมากไปด้วย แล้วจัดส่งรองหัวหน้าคณะทูตให้แยกย้านกันนำไปมอบให้กับประเทศต่างๆ สองปีต่อมา ประเทศต่างๆ ก็จัดส่งทูตกลับมาติดต่อกับราชวงศ์ฮั่นโดยมีทูตจีนเป็นผู้นำทาง จากนั้น ราชวงศ์ฮั่นกับประเทศต่างๆ ในเขตซียู่ว์ก็ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการขึ้นมา และนับวันมีการไปมาหาสู่กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น
การที่จางเชียนเป็นทูตเดินทางไปเขตซียู่ว์ทำให้จีนได้มีโอกาสติดต่อกับเอเชียกลาง เอเชียตะวันตกกระทั่งเขตที่ห่างไกลออกไป ทำให้มีการเปิดเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมทวีปเอเชีย ยุโรปและแอฟริกาสามทวีปขึ้นมาสองสายขึ้นมา นั่นก็คือ เส้นทางสายไหมทางบก และเส้นทางสายไหมทางทะเล เส้นทางสองสายดังกล่าวได้อำนวยความสะดวกแก่การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างตะวันออกกับตะวันตก ได้แลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมกับโลกซีกตะวันตกมากยิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยให้พุทธศาสนาแพร่เข้าสู่จีนในเวลาต่อมา จางเชียนเป็นผู้บุกเบิกยุคแห่งการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมระหว่างจีนกับตะวันตก ผู้คนยังคงกล่าวขวัญและนับถือจิตใจอันสูงส่งของจางเชียนที่แม้จะผ่านความยากลำบากสุดประมาณแต่ก็ไม่ย่อท้อกลับมีแต่ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ไม่หวั่นไหว!
ที่มา : facebook.com/เส้นทางสายไหม The Silk Road
แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/

หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

Sunday 24 March 2019

ใบความรู้ที่ 20 三星堆 หรือต่างดาวบุกโลกมานานแล้ว


ใบความรู้ที่ 20

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

三星堆 หรือต่างดาวบุกโลกมานานแล้ว
      ซานซิงตุย
               เมื่อกล่าวถึงซานซิงตุย(三星堆) หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้นัก แต่สำหรับวงการโบราณคดีโลกและของจีนแล้ว ซานซิงตุยถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ทางประวัติศาสตร์ยุคโบราณอย่างหนึ่ง ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะโบราณวัตถุที่มีอายุนานนับหลายพันปีซึ่งขุดพบใต้ซากเมืองโบราณแห่งนี้มีส่วนช่วยให้การไขปริศนาอายุทางประวัติศาสตร์ของจีนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น 

ราวช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1929 ขณะที่เยียนเต้าเฉิง (燕道诚)ชาวนาคนหนึ่งกำลังขุดลำธารข้างบ้านพักที่อยู่ไกลจากเมืองก่วงฮั่น(广汉)มณฑลเสฉวน (四川省)ราว 3 - 4 กิโลเมตร เขาขุดพบภาชนะหยกที่มีความงดงามจำนวนหนึ่ง การค้นพบครั้งนั้นถือเป็นการเปิดศักราชให้นักโบราณคดีจีนเริ่มวิจัยอารยธรรมในยุคราชวงศ์ซาง(商代)จากวัตถุโบราณกลุ่มดังกล่าว ทว่า เหตุที่ทำให้ซานซิงตุยเริ่มกลายเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกเป็นผลมาจากการขุดพบสุสานเซ่นไหว้ขนาดใหญ่ที่มีอายุอยู่ในยุคราชวงศ์ซางประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ปี ค.ศ. 1986 ภาชนะสำริดส่วนมากที่ขุดพบมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้นานาชนิด รูปหน้าคนและหน้ากาก ขณะที่รูปคนยืนและคุกเข่าเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงผู้ที่มาขอพรจากเทพเจ้าและผู้ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ หน้ากากที่มีรูปหน้าสัตว์ซึ่งมีตาโปนและหน้ากากรูปสัตว์หน้าแบนเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเทพเจ้าแห่งธรรมชาติที่ชาวสู่นับถือ ด้วยเหตุผลประการนี้เองที่ทำให้ซานซิงตุยเป็นที่รู้จักของชาวโลก จนถึงกับมีการขนานนามว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 9 ของโลก” (世界第九大奇迹)เลยทีเดียว 

         ภาชนะสำริดที่ขุดพบจำนวนมากบริเวณสุสานซานซิงตุยโดยทั่วไปจะไม่มีข้าวของเครื่องใช้ปะปนอยู่ แต่จะเป็นของที่ใช้เซ่นไหว้เสียมากกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบทางศาสนาที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบของยุคอาณาจักรสู่โบราณ(古蜀国) เพราะวัตถุโบราณเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะภาพแกะสลักเหมือน ไม้กระบอง เป็นต้น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมของชนเผ่ามายา(玛雅人)และชาวอียิปต์โบราณ(古埃及人) นอกจากนี้ มีการขุดพบเปลือกหอยกว่า 5,000 ชิ้น หลังจากผ่านการทดสอบแล้วพบว่า เป็นเปลือกหอยที่มาจากแถบมหาสมุทรอินเดีย(印度洋)บางคนแสดงทัศนะว่า เปลือกหอยเหล่านี้ใช้ในการแลกเปลี่ยน ถือเป็นเงินตราต่างประเทศที่มีอายุเก่าที่สุดของมณฑลเสฉวน แต่ก็มีบางคนแสดงทัศนะว่าเป็นของเซ่นไหว้ที่หมอสอนศาสนาใช้ในการประกอบพิธี ยิ่งไปกว่านั้น ยังขุดพบงาช้างกว่า 60 งา กลายเป็นที่ถกเถียงของเหล่านักวิชาการว่าเป็นบรรณาการจากต่างชาติหรือเป็นงาช้างของท้องถิ่น ทั้งนี้ ยังขุดพบกระบองทองคำ(金杖)ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกภายใต้สุสานแห่งนี้อีกด้วย วัตถุโบราณที่กลายเป็นที่ถกเถียงของเหล่านักวิชาการก็คือ รูปสลักปลาและหัวคันศรน่าจะสื่อความหมายว่าอะไร เพราะตัวแปรที่ชี้ให้เห็นว่าชนเผ่าใดมีอารยธรรมก็คือ การประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ อย่างไรก็ดี การปรากฏอักษรบริเวณสุสานซานซิงตุย กลายเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์จีนอีกประเด็นหนึ่งที่ยังหาคำตอบไม่ได้  ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะมีการถกเถียงว่า ลวดลายบนกระบองทองคำเป็นภาพหรือเป็นตัวอักษร

 
 


        ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 นักโบราณคดีสามารถขุดพบซากเมืองโบราณแห่งนี้ได้ที่บริเวณเมืองหนานซิง(南兴)มณฑลเสฉวนทำให้พบว่าเมืองแห่งนี้มีกำแพงรอบด้านที่มีความยาวต่างกันคือ ด้านตะวันออกยาว 1,100 เมตร ด้านใต้ยาว 180 เมตร และด้านตะวันตกยาว 600 เมตรเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น รอบซากเมืองโบราณแห่งนี้ประกอบด้วยห้องหับหลายแห่ง หลุมฝังศพ หลุมเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ฯลฯ ลักษณะของห้องที่พบมีทั้งรูปแบบกลม เหลี่ยมและเรียวยาว 3 ชนิด โดยมากมักสร้างด้วยโครงไม้ นับแต่ปี ค.ศ. 1931 เป็นต้นมา มีการขุดพบซากภาชนะเครื่องหยก(玉石器)และภาชนะสำริด(青铜器)จำนวนมากบริเวณหลุมเซ่นไหว้ ถือเป็นวัตถุโบราณล้ำค่าจำนวนมหาศาลที่มีคุณค่าทางโบราณคดี อาณาจักรสู่โบราณเจริญรุ่งเรืองนานกว่า 1,500 ปี แต่กลับหายวับไปกับตา กลายเป็นประเด็นที่หลายคนเกิดความสงสัยและไม่สามารถหาคำตอบได้ กระทั่งหลังจากนั้น 2,000 กว่าปี ชาวโลกจึงได้สัมผัสกับอาณาจักรเหล่านี้ เกี่ยวกับปริศนาการสูญหายของอาณาจักรแห่งนี้มีการตั้งสมมติฐานไว้หลายทฤษฎี ที่สำคัญได้แก่
ทฤษฎีอุทกภัย(水患说) เนื่องจากขุดพบซากสุสานซานซิงตุยใกล้กับทางตอนหนือของแม่น้ำยาจื่อ (鸭子河)ทั้งนี้มีแม่น้ำหม่ามู่(马牧河)พาดผ่านใจกลางเมือง ดังนั้น จึงมีนักวิชาการบางคนคิดว่า เหตุแห่งการอับปางของเมืองแห่งนี้เกิดจากน้ำป่าไหลหลาก แต่นักโบราณคดีกลับไม่พบซากการทับถมที่เกิดจากการซัดของน้ำหลากในครั้งนั้นเลย

ทฤษฎีสงคราม (战争说)ซากอาวุธที่ขุดพบแถบบริเวณสุสานโดยมากจะชำรุดและถูกไฟเผาจนเกรียม อย่างไรก็ดี ผลการตรวจสอบอายุของอาวุธเหล่านี้ทำให้ทราบว่าเป็นอาวุธที่ใช้กันในช่วงสองสามร้อยปีหลังจากนั้น

ทฤษฎีการอพยพ (迁徙说)ทฤษฎีดังกล่าวไม่ต้องการค้นหาหลักฐานเท่าใดนัก เพียงแต่ไม่ได้อธิบายเหตุผลการอพยพว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะที่ราบเสฉวนเป็นบริเวณที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินคุณภาพดี อากาศมีอุณหภูมิพอเหมาะ ยากที่จะเกิดอุทกภัย

               นอกจากนี้ ยังมีปริศนาอื่นๆ อีกมากมาย อาทิเช่น แหล่งกำเนิดของอารยธรรมซานซิงตุยเกิดขึ้นในยุคสมัยใด เพราะรูปปั้นมนุษย์และรูปปั้นสัตว์ที่ทำจากสำริดล้วนไม่มีลักษณะของรูปปั้นสำริดที่พบแถบจงหยวน และไม่ปรากฏอักษรใดๆ บนรูปปั้นเหล่านี้ “มนุษย์ซานซิงตุย” (三星堆人)ที่ขุดพบมีจมูกโด่ง ตาลึก โหนกแก้มสูง ปากกว้าง ใบหูใหญ่ เจาะรูที่หู ดูคล้ายกับชาวต่างชาติมากกว่าชาวจีน นักโบราณคดีประจำสถาบันวิจัยโบราณคดีในมณฑลเสฉวนที่ชื่อเฉินเต๋ออาน(陈德安)แสดงทัศนะว่า ซากกระดูกที่ขุดพบนี้น่าจะไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศจีน แต่น่าจะเป็นอารยธรรมที่เกิดจากการผสานกันหลายแห่ง (杂交文明)

 
 



                  การค้นพบสุสานซานซิงตุยทำให้รู้จักวัฒนธรรมปาสู่ (วัฒนธรรมแถบที่ราบเสฉวนช่วงก่อนที่ราชวงศ์ฉินผนวกประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียว) ครั้งใหม่ เพราะวัตถุโบราณที่ค้นพบทำให้รู้จักวัฒนธรรมปาสู่ที่แตกต่างไปจากเดิม มีบางแห่งถึงกับคลาดเคลื่อนจากที่หลายคนเคยเข้าใจ เช่น วงการประวัติศาสตร์ต่างเชื่อมาโดยตลอดว่า เมื่อเปรียบกับอาณาจักรจงหยวน(中原)แล้ว อาณาจักรปาสู่โบราณเป็นสถานที่ซึ่งปิดกั้นจากโลกภายนอกและมีการไปมาหาสู่กับอาณาจักรจงหยวนน้อยมาก แต่ซากวัตถุที่ขุดพบเป็นประจักษ์พยานว่า พื้นที่บริเวณสุสานน่าจะเคยเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจีนราวช่วงราชวงศ์เซี่ย(夏代)คาบเกี่ยวกับราชวงศ์ซางหรืออาจมีอายุเก่าแก่กว่านั้น ร่องรอยการไปมาหาสู่พร้อมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรจงหยวน ถือเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของบันทึกในเอกสารโบราณที่กล่าวถึงเรื่องราวของอาณาจักรปาสู่(巴蜀国) หรือที่ผ่านมาวงการประวัติศาสตร์คิดว่า พื้นที่แถบแม่น้ำฮวงโห(黄河流域)เป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน หลังจากนั้นจึงค่อยๆ แผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆ ของประเทศจีน การค้นพบสุสานซานซิงตุยทำให้สามารถทราบว่าอายุของประวัติศาสตร์จีนเก่าแก่กว่าที่เคยทราบมา และเป็นประจักษ์พยานว่าพื้นที่แถบแม่น้ำแยงซีเกียง(长江)และแถบแม่น้ำฮวงโห(黄河)ล้วนเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีนด้วยกันทั้งสิ้น และยังเน้นย้ำว่าอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำแยงซีเกียงก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับอารยธรรมของแม่น้ำฮวงโห ดังนั้น การค้นพบครั้งนี้จึงถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ทางประวัติศาสตร์จีนจากข้อมูลที่เคยทราบมา

         ยิ่งไปกว่านั้น การค้นพบในยุคใกล้ๆ นี้ ทำให้ทราบว่า ซากวัตถุโบราณที่สำคัญกระจัดกระจายอยู่แถบหมู่บ้านต้าเจียงซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของชายฝั่งแม่น้ำยาจื่อเรื่อยไปถึงทางตอนบนของแม่น้ำหลินซึ่งตั้งห่างออกไปทางตะวันตกของหมู่บ้านเกาเจียน ขณะที่ซากวัตถุโบราณที่แฝงไว้ด้วยข้อมูลทางวัฒนธรรมกระจุกตัวอยู่แถบหมู่บ้านซานซิงชายฝั่งตอนใต้ของแม่น้ำหม่ามู่ โดยมีศูนย์กลางกระจายอยู่ที่หมู่บ้านเจินอู่และหมู่บ้านซานซิง

               ซากวัตถุโบราณที่สามารถค้นพบบริเวณซานซิงตุยแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม 2 ชนิดที่มีความแตกต่างกันและมีความสัมพันธ์แบบวัฒนธรรมแม่และวัฒนธรรมลูก โดยชนิดแรกมีอายุเก่าแก่หรือเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมซานซิงตุยระยะแรก มีอายุราววัฒนธรรมหลงซาน(龙山时代)แถบที่ราบจงหยวน ส่วนชนิดที่สองมีอายุหลังจากนั้น มีชื่อเรียกว่าวัฒนธรรมซานซิงตุยระยะที่ 2 – 4 หรือวัฒนธรรมที่พบบริเวณผิวดินชั้นบนของเขตที่ขุดพบ มีอายุคาบเกี่ยวระหว่างราชวงศ์เซี่ยเรื่อยไปถึงช่วงปลายราชวงศ์ซางหรืออาจมีอายุเก่าแก่ถึงราชวงศ์โจวตอนต้น(周初期)เลยทีเดียว

               อาณาจักรสู่โบราณตั้งอยู่ทางพรมแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสู่นอกจากจะมีบันทึกในอักษรกระดองเต่า(甲骨文)และหนังสือประวัติศาสตร์ซ่างซู

(尚书)แล้ว การไปมาหาสู่ระหว่างอาณาจักรแห่งนี้กับแผ่นดินจงหยวนเริ่มปรากฎให้เห็นราวยุคจ้านกว๋อ(战国) หากแต่วัฒนธรรมสำริดของอาณาจักรสู่ในยุคชุนชิว-จ้านกว๋อกลับเป็นที่รู้จักราวทศวรรษที่ 30 การค้นพบอารยธรรมสำริดจากซากวัตถุโบราณแถบซานซิงตุยทำให้สามารถคำนวณถึงอายุของอารยธรรมสู่โบราณ(古蜀文明)ได้เก่าแก่กว่า 1,000 ปี เป็นการเพิ่มเติมข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาณาจักรสู่โบราณให้กับนักโบราณคดีในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก

               กล่าวโดยสรุปว่า ประโยชน์ที่สำคัญประการหนึ่งจากการขุดพบซากโบราณวัตถุแถบสุสานซานซิงตุยทำให้ทราบว่า ครั้งหนึ่งดินแดนแถบที่ราบเสฉวนเคยเป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมโบราณที่คาบเกี่ยวตั้งแต่สังคมจีนยุคบรรพกาล เรื่อยไปจนถึงการสถาปนาตนขึ้นเป็นอาณาจักร ดังนั้น จึงมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยเรียกสิ่งที่ขุดพบในครั้งนั้นว่าเป็น “อารยธรรมซานซิงตุย” (三星堆文明)ลักษณะโดดเด่นที่สุดของอารยธรรมนี้คือการสรรสร้างวัฒนธรรมที่มีจิตวิญญาณสูงสุด สะท้อนให้เห็นถึงความสมบูรณ์แบบของระบบความเชื่อทางศาสนาในหมู่ชาวจีนยุคบรรพกาล


ที่มา : pantip

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/

หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

Friday 22 March 2019

ใบความรู้ที่ 19 文房四宝 สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือ


ใบความรู้ที่ 19

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

文房四宝 สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือ



1 文房四宝 [wén fáng sì bǎo] “สิ่งล้ำค่าทั้งสี่ในห้องหนังสือ” 
2  文房 หมายถึง ห้องอักษร书房 แปลว่า ห้องหนังสือ สถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาเรียนรู้四宝 หมายถึง สิ่งล้ำค่าทั้งสี่ (สิ่งวิเศษทั้งสี่)
3 文房四宝 [wén fáng sì bǎo]พู่กัน  (笔) เป็นเครื่องเขียนที่ใช้ในการเขียนอักษรและวาดภาพนับเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกสุดในห้องหนังสือ
4 文房四宝 [wén fáng sì bǎo]หมึก  (墨) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เคียงคู่กับพู่กัน โดยใช้ฝนกับจานฝนหมึกผสมกับน้ำบริสุทธิ์จนละลายรวมกันเป็นหมึกดำที่ดำสนิท
5 文房四宝 [wén fáng sì bǎo]กระดาษ  (纸) เป็นแผ่นที่ใช้รองรับน้ำหมึกจากปลายพู่กันเนื้อกระดาษที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ผลงานแลดูโดดเด่น และคงทนอยู่นาน
6 文房四宝 [wén fáng sì bǎo]จานฝนหมึก  (砚) เป็นหินสีดำที่สร้างเป็นจานรองน้ำหมึก ภายในเป็นแอ่งหลุมขนาดเล็กเพื่อรองรับและเก็บกักน้ำหมึกเอาไว้สำหรับใช้ในการเขียนอักษรในแต่ละครั้ง
7 文房四宝 [wén fáng sì bǎo]อุปกรณ์ทั้งสี่ตามคำยกย่องที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งมีมาตรฐานและมีคุณภาพดีเยี่ยมสมคำร่ำลือที่มีมาช้านาน จนทำให้ทุกวันนี้จึงมีคำเรียกติดปากว่า สุดยอดแห่งสิ่งล้ำค่าทั้งสี่ในห้องหนังสือ คือ 湖笔,徽墨,宣纸,端砚
ที่มา Padungsri Supacha

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/

หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

ใบความรู้ที่ 18 中国京剧 อุปรากรจีน ปักกิ่ง



ใบความรู้ที่ 18

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 


中国京剧 อุปรากรจีน ปักกิ่ง

Characters : ตัวล


    ในการแสดงงิ้ว ประกอบไปด้วยตัวละคร ๔ ประเภท ได้แก่
๑.  เซิง
เซิง(生) คือตัวละครที่เป็นผู้ชาย แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
         ๑.๑  เล่าเซิง(老生) พระเอกบุ๋น คือตัวละครชายที่แสดงบทบาทเป็นชายวัยกลางคนจนถึงคนแก่ อาจติดหนวดเครา สีหนวดเคราแสดงถึงอายุที่มากขึ้นตามลำดับ คือ ดำ เทา และ ขาว เน้นหนักที่การร้องเป็นหลัก
         ๑.๒  เซี่ยวเซิง(小生) แสดงเป็นชายหนุ่ม พระเอกของเรื่อง ไม่ติดหนวดเครา แสดงถึงวัยเริ่มแตกเนื้อหนุ่มแต่ยังไม่มีหนวดเครารุงรัง ท่าทางสุภาพอ่อนน้อม เวลาร้องจะมีเสียงรัวเพื่อแสดงว่าเป็นคนหนุ่ม
         ๑.๓  อู่เซิง(武生) พระเอกบู๊ คือตัวละครชายที่รับบทนักรบหรือผู้มีวิทยายุทธ์ เน้นที่บทบาทการต่อสู้ เป็นพวกแสดงท่าทางโลดโผนหรือกายกรรม หกคะเมนตีลังกา เช่นพวกแสดงเป็นลิง เฮ่งเจีย เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ บู๊แบบชุดรบ (มีธง) กับบู๊ทั่วไป

    ๒.  ตั้น

ตั้น(旦) คือตัวละครที่เป็นผู้หญิง แบ่งออกเป็น ๖ ประเภท ได้แก่
         ๒.๑.  เหล่าตั้น (老旦แสดงเป็นผู้หญิงมีอายุหรือหญิงแก่ มีทั้งบทบู๊และบุ๋น โดยแบ่งไปตามลักษณะบทบาท ฐานะ และอายุ เครื่องแต่งกายแบบเรียบง่าย ไม่แต่งหน้า การพูดหรือร้องใช้เสียงธรรมดาและน้ำเสียงต่ำกว่าตัวแสดงบทอื่นๆ 

         ๒.๒.  อู่ตั้น(武旦) คือตัวละครหญิงที่รับบทนักรบหรือผู้มีวิทยายุทธ์ เน้นที่บทบาทการต่อสู้ เป็นบทบาทโลดโผนเช่นเดียวกับอู่เซิง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ บู๊แบบชุดรบ (มีธง) กับบู๊ทั่วไป
         ๒.๓  ชิงอี้(青衣คือนางเอกแท้ เป็นบทแสดงหญิงเพียบพร้อมตามคุณสมบัติแบบที่คนโบราณกำหนด คือมีกิริยามารยาทเรียบร้อย เป็นกุลสตรีแบบผู้หญิงจีน ที่มีความจงรักภักดี เหนียมอายและนิ่มนวล ตัวละครที่รับบทนี้ มีทั้งตัวละครที่รับบทโศก และบทหญิงสูงศักดิ์ เน้นการร้องเป็นสำคัญ
         ๒.๔  หัวตั้น (花旦คือนางเอกสาวที่มีฐานะทางสังคมต่ำกว่าชิงอี้ แสดงออกทางเจ้ามารยาของวัยสาว เน้นการร้องและการแสดงพร้อมกัน บทนี้ยังรวมไปถึงคนใช้คนสนิทของนางเอก ที่คอยรับใช้ติดตามตัวคุณหนูตลอดเวลา 

         ๒.๕  กุ้ยเหมินตั้น(闺门旦)เป็นเด็กสาวในสังคมชั้นสูงที่จะเป็นชิงอี้ในอนาคต
         ๒.๖  ไฉ่ตั้น (彩旦)บทสาวใช้ ในที่นี้หมายถึงตัวตลกที่เป็นผู้หญิง

    ๓.  จิ้ง
จิ้ง(净)หรือบทหน้าลาย เป็นการระบายสีบนใบหน้าเป็นรูปหน้ากากที่แตกต่างกันไปตามบทตัวละครแต่ละตัว ซึ่งมีหน้ากากเฉพาะตน เช่น กวนอู เล่าปี่ โจโฉ เป็นต้น มีทั้งฝ่ายดีและเลว

  ๔.  โฉ่ว
โฉ่ว (คือบทตัวตลก เป็นการแสดงบทตัวตลกด้วยคำพูด โดยเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาล้อเลียน แล้วพูดเป็นสำเนียงคนท้องถิ่น ตัวตลกชายจะแต่งหน้าด้วยการทาสีขาวที่จมูกและขอบตา แต่บางครั้งการแต่งหน้าแบบนี้อาจแสดงเป็นตัวร้ายก็ได้ ส่วนตัวตลกหญิงแต่งหน้าโดยทาสีแดง แล้วทาคิ้วสีดำ

 by Wutthichai Mongpra

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/
หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

ใบความรู้ที่ 17 马踏飞燕 ตำนานม้าเหยียบนกนางแอ่น



ใบความรู้ที่ 17

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

马踏飞燕 ตำนานม้าเหยียบนกนางแอ่น


หม่าถ้าเฟยย่านหรือ ม้าวิ่งนกบิน หรือ 马超龙雀 หม่า เชา หลง เชียว 


หม่าถ้าเฟยย่านหรือ ม้าวิ่งนกบิน
“ม้าวิ่งโจนทะยานทองสัมฤทธิ์” สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 34.5 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตรและกว้าง 10 เซนติเมตร ทำขึ้นในราชวงศ์ตงฮั่น(ฮั่นตะวันออก)ของจีน ขุดค้นพบจากสุสานอู่เวยเหลยไถในมณฑลกันซู่ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของมณฑลกันซู่
ในสมัยโบราณของจีน ม้าอาชาไนยนับเป็นปัจจัยสำคัญและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำศึกสงคราม การขนส่งและการสื่อสาร กองทหารม้าที่เข้มแข็งก็เคยเป็นปัจจัยทางทหารที่ขาดมิได้ที่ทำให้ราชสำนักฮั่นตีโต้กลับการรุกรานของพวกซงหนูที่เป็นชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ และสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยทางภาคเหนือของจีนไว้ได้ ดังนั้น คนจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นจึงมีความนิยมชมชอบและถนอมรักม้ามากกว่าคนในสมัยอื่นๆ และยกย่องม้าเป็นสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรีของชนชาติ ความเข้มแข็งเกรียงไกรของชาติและคุณูปการของวีรชน ด้วยเหตุนี้ รูปม้าอาชาไนยจึงได้ปรากฏเป็นรูปปั้นและศิลปกรรมจำนวนมากของราชวงศ์ฮั่น ผลงานศิลปกรรมเป็นที่ชื่นชมและน่าอัศจรรย์ที่สุดคือ”ม้าเหยียบนกนางแอ่น”
ม้าอาชาไนยที่กำลังวิ่งกระโจนไปข้างหน้าตัวนี้มีร่างกายแข็งแรง แหงนหน้าสะบัดหาง หัวม้าเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย ตีนม้าสามข้างลอยอยู่กลางท้องฟ้า มีเพียงตีนด้านหลังข้างขวาเหยียบอยู่บนตัวนกนางแอ่นหัวมังกรที่กำลังโบยบินอย่างรวดเร็วเสมือนลูกธนูที่ถูกยิงออกจากคันธนู ลำตัวใหญ่ล่ำสันแข็งแรงแสดงให้เห็นถึงกำลังที่เข้มแข็ง แต่ท่วงท่าวิ่งกระโจนกลับทำให้รู้สึกถึงความแผ่วเบาจนทำให้ผู้คนทั้งหลายเกือบจะลืมไปว่า ม้าอาชาไนยตัวใหญ่ตัวนี้ใช้ตีนเพียงข้างเดียววางน้ำหนักทั้งตัวลงบนนกนางแอ่นตัวเล็ก ๆ ที่กำลังบินตัวนี้
“ม้าเหยียบนกนางแอ่น”เป็นผลงานที่ตกผลึกทางปัญญาอันสูงส่ง เป็นจินตนาการอันสมบูรณ์แสดงให้เห็นอารมณ์โรแมนติคและทักษะศิลปกรรมอันยอดเยี่ยมของศิลปินสมัยราชวงศ์ฮั่น สมกับที่เป็นของล้ำค่าทางศิลปะรูปปั้นสมัยโบราณของจีน
ที่มา China.com / Thai

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/
หนังสือดี ที่ต้องอ่าน

ใบความรู้ที่ 16 泰国 หมายถึงที่ลึกซึ้ง


ใบความรู้ที่ 16

อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล 

泰国 หมายถึงที่ลึกซึ้ง


      泰国 ไท้ กั๋ว ประเทศไทย #วันนี้สาระยาวๆครับ 😁
ทำไมคนจีนจึงเรียกเราว่า 泰 ไท้?? หรือเสียงคล้ายคำว่าไทย?? 
แต่หากเราตีความให้ดีแล้ว 
คำว่า 泰 มีอักษรจีน 3 คำซ่อนอยู่ คลิ๊กอ่านเพิ่มครับ👇

泰= 三 + 人 + 水 
三 คือ 3 
人 คือ คน
水 คือ น้ำ


ทุกๆคนเคยได้ยินคำว่า คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนสบ๊ายสบายไหมครับ
ในภาษาจีนเองก็มีคล้ายๆแบบนี้เหมือนกัน แต่
一 人 อี เหริน แปลว่า 1 หมายถึง คนเดียว, แค่คนๆเดียว
二 人 เอ้อ เหริน แปลว่า 2 หมายถึง 2 คน ก็ยังแค่ 2 คน
三 人 ซาน เหริน แปลว่า 3 แต่จะหมายถึงหลายๆคน
หลายๆคน(三人)แล้วมีน้ำ (水) ตามหลัง บ่งบอกว่า
คนหลายๆคนมีน้ำกิน มีน้ำใช้ หรืออีกนัยนึงคือ อุดมสมบูรณ์
ประเทศไทย เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์
นอกจากคำว่า 泰 จะออกเสียงเหมือนไทยแล้ว แต่ความหมายของประเทศเราเองก็ช่างมีเสน่ห์เสียเหลือเกิน
#ฉันรักประเทศไทย #我爱泰国人 ❤️🇹🇭
อ.ไชยฉัตร โรจน์พลทามล #หนีห่าวเหล่าซือแม็ก

แล้วอย่าลืมแวะอ่าน เผยเทคนิคพิเศษ ปั้นเพชร HSK Level 1 
ติดตามเพิ่มได้ที่ https://www.facebook.com/guanlaoshi/
หนังสือดี ที่ต้องอ่าน